ย่านาง

ย่านาง สมุนไพร หมื่นปีไม่มีแก่ "อิสาน หมื่นปี บ่ เฒ่า"

สรรพคุณใบย่านางนั้นมีมากจนบางคนเรียกว่าเป็น "ยาอายุวัฒนะ"

ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ  ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี

ใบย่านาง เป็นพืชที่เต็มไปด้วยสาร สารสีเขียว คลอโรฟิลด์ และ เบต้าแคโรทีน ป้องกันการก่อตัวของอนุมูลอิสระ เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ดูแลคนทำงานสำนักงาน และ ลดพิษร้อนให้อวัยวะภายร่างกาย ที่ทำให้ป่วย หรือเครียดตลอดเวลา เมื่อไรที่ควรทานย่านาง ? อาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน เช่น  ตาแดง  ตาแห้ง  แสบตา  มีสิว  ฝ้า  มีตุ่มแผลร้อนในช่องปาก  ผมหงอกก่อนวัย  ไข้ขึ้น  ตัวร้อน  มีเส้นเลือดขอด    เป็นตะคริว เกิดฝีหนอง  หอบหืด  ไตอักเสบ  โรคเก๊า  เบาหวาน  ความดันสูง ฯลฯใบย่านางมีฤทธิ์เย็น  จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล  บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ย่านางเป็นใช้ยามาตั้งแต่โบราณ มีชื่อเรียกทางแพทย์ยาโบราณว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” หรือ

ย่านางเป็นพืชสมุนไพรที่มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ หมอ แผนไทยจะใช้รากย่านางเข้าตำรับยาแก้ไข้ในตำรับยา 5 ราก (ประกอบด้วย รากย่านาง รากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร) หรือเบญจโลกวิเชียร หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นหนึ่งในตำรับยาแก้ไข้

ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ ดั้งเดิม ชาว ไทยภาคอีสานและภาคเหนือนำใบย่านางมาใช้ประกอบอาหาร โดยเอาน้ำคั้นจากใบทำน้ำแกง คือแกงหน่อไม้หรือต้มเปรอะ แกงขี้เหล็ก แกงหวาย ลาบหมาน้อย ลาบเทา ต้มหน่อไม้ การประกอบอาหารดังกล่าวนี้ใช้น้ำคั้นใบย่านางจะช่วยฆ่าพิษหรือดับพิษของ อาหารที่ประกอบนั้น เช่น หน่อไม้ จัดเป็นอาหารแสลงที่ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเข่า ถ้าเป็นหญิงมักมีตกขาว หรือคันในช่องคลอดร่วมด้วย หมอ แผนไทยโดยส่วนใหญ่จึงมักห้ามกินหน่อไม้ในระหว่างที่ทำการรักษา แต่คนอีสานและเหนือจะแกงหน่อไม้ใส่ย่านางเพื่อฆ่าพิษของหน่อไม้ แต่ถ้าใครจะกินหน่อไม้ปีบก็ควรต้มกับน้ำย่านางก่อนจะปลอดภัยมากขึ้น แกงขี้เหล็กก็เช่นเดียวกัน ในขี้เหล็กมีสารพิษจึงมักต้มขี้เหล็กแล้วแกงกับน้ำย่านาง

ยาบำรุงหัวใจ กระดังงา หรือ สะบันงา

กระดังงา สมุนไพรบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต กระดังงา หรือ สะบันงา ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน


สรรพคุณ 

ดอกแก่จัด   ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ

ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ


วิธีใช้ :

ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate

                                                                                                                ย่านาง เหมื่นปี บ่ เฒ่า >>>

บัวบก สรรพคุณของบัวบก

บัวบก สรรพคุณของบัวบก บัวบกมีประคุณประโยชย์มากมาย

สรรพคุณ บัวบก Pennywort.

 ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด
-  เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
-  รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
-  ปวดศีรษะข้างเดียว
-  ขับปัสสาวะ
-  แก้เจ็บคอ
-  เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
-  ลดความดัน แก้ช้ำใน

เมล็ด
-  แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ 
ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

อีกตำราหนึ่ง

สรรพคุณใบบัวบก
๑. บำรุงสมอง
นำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ มาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว

๒. บำรุงหัวใจ
ต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว

๓. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
จะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ

๔. แก้ช้ำใน
นำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ

๕. ความดันโลหิตสูง
ต้มน้ำใบบัวบกต้ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้น ควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์

๖. ลดอาการแพ้
ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง

๗. รักษาบาดแผลสด
ใช้ตำและพอกที่แผล สามารถทำลายเชื้อโรคได้

๘. ดับพิษไข้
คั้นเอาน้ำสด ดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ไม่ต้องผสมน้ำเลย ดื่ม ๓ เวลา เช้า- กลางวัน - เย็น

๙. แก้ปวดท้อง
มวนในท้อง ท้องเสียได้ โดยคั้นเอาน้ำสดๆเข้มข้นดื่มช่วยให้ทุเลาได้

๑๐. แก้บิด
ใช้ใบบัวบกสอเข้มข้น ดื่มสดๆ เพื่อทำลายเชื้อบิด ดื่มเช้า - กลางวัน - เย็น ประมาณ ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล

๑๑. แก้ดีซ่าน
เอาบัวบกมาคั้นน้ำดื่มสดๆ ๓ เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น

๑๒. แก้อาเจียนเป็นเลือด
คั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น

๑๓. รักษาอาการตาแดง
ตำใบบัวบกสดๆหลับตาแล้วพอกที่ตาเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนยา บ่อยๆ หายได้ในที่สุด

๑๔. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

๑๕. แก้เจ็บคอ
เอาบัวบกสดเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วจิบเอา แก้อาการเจ็บคอดี มาก จิบได้เรื่อยๆ

๑๖. ขับปัสสาวะ
นำใบบัวบกสดคั้นน้ำ ดื่มกันสดๆ อาจเติมความหวานเล็กน้อยก็ได้

๑๗. แก้กามโรค
เป็นน้ำกระสายยา ในการรักษากามโรค กินร่วมกับยาอื่นได้

๑๘. แก้โรคเรื้อน
ใช้ใบบัวบกคั้นน้ำดื่มทุกๆวัน เช้า-เย็น และตำพอกแผลด้วย

๑๙. ป้องกันมะเร็ง
ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดื่มบ่อยๆ

๒๐. แก้อาการอ่อนเพลีย

สารเคมี :  สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

หนอนหัวดำ ด้วงแรด แมลงดำหนาม

หนอนหัวดำ ด้วงแรด แมลงดำหนาม แมลงศัตรูมะพร้าว เร่งควบคุมป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว 

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมการระบาดศัตรู พืช กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของศัตรูมะพร้าวว่า ขณะนี้ศัตรูมะพร้าวได้แพร่ระบาดทำลายพื้นที่ปลูกมะพร้าวรวมกว่า 253,160.75 ไร่ ใน 19 จังหวัด โดยเฉพาะ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสียหายค่อนข้างมาก ถึง 193,468 ไร่ โดยแบ่งตามชนิดของแมลงศัตรูมะพร้าว คือ แมลงดำหนามระบาดคลุมพื้นที่กว่า 110,681 ไร่ หนอนหัวดำ 82,617 ไร่ และด้วงแรด 170 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวประสบภัยแล้งติดต่อกันถึง 3 ปี ทำให้ต้นมะพร้าวอ่อนแอต่อการทำลายของศัตรูมะพร้าว

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดความรู้เรื่องการควบคุมศัตรูมะพร้าวให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่องซึ่งในปี 2555 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการควบคุมและกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบครอบคลุมพื้นที่” ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 333,806,400 บาท เบื้องต้นมีแผนจัดตั้ง ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้การควบคุมศัตรูมะพร้าวในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ขณะเดียวกันยังเร่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ 150 คน ให้มีความรู้ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวและการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วย นอกจากนั้นยังจัดตั้ง ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)จำนวน 109 ศูนย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและชุมชนในการจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเองตามศักยภาพ

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนนี้ จะเป็นกลไกขับเคลื่อนมาตรการการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยจะฝึกอบรมเรื่องการผลิตและการจัดการศัตรูมะพร้าวแก่สมาชิก ศจช. เป้าหมาย 3,270 ราย จัดทำแปลงต้นแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวและควบคุมศัตรูมะพร้าว 109 แปลง ๆ ละ 5 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งในการสาธิตการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งยังจัดทำแปลงศึกษาทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตและการดูแลรักษา
ด้วงแรด

กรมส่งเสริมการเกษตรยังมีแผนเร่งผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเพื่อป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม รณรงค์ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดวงจรชีวิตแมลงศัตรูมะพร้าวในพื้นที่ เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวอย่างรวดเร็วและฉับพลัน อีกทั้งยังจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษทำหน้าที่ควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว และถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ที่มีการระบาด เดือนละ 1 ครั้ง มีการสร้างระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ โดยจัดทำข้อมูลและแผนที่พื้นที่ระบาด พื้นที่เฝ้าระวังเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจในการควบคุมศัตรูมะพร้าวให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวด้วย

นางเริงจิตร พรหมสถิต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวควรดูแลสวนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถที่จะปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว เพื่อเพิ่มความชื้นให้บริเวณแปลงมะพร้าว ซึ่งจะทำให้ต้นมะพร้าวสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งยังต้องสำรวจติดตามสถานการณ์การระบาดในแปลงอย่างต่อเนื่อง หากพบศัตรูมะพร้าวระบาดในแปลงให้แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อจะได้ดำเนินการป้องกันกำจัดทันที

หากสงสัยเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมการระบาดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2955-1626 หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน.

ที่มา..ข้อมูล เดลินิวส์

ไก่ดำภูพาน

ไก่ดำภูพาน เป็นสายพันธุ์หนึ่งของไก่ดำ ปรับปรุงพันธุ์จากไก่ดำจากประเทศจีน 
วันก่อนมีโอกาสเดินทางไป ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร เยี่ยมชมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ  รุ่นที่ 2 ครั้ง ที่ 3 ร่วมเรียนรู้พระราชกรณียกิจและพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ สัมผัสเกษตรกร 5 บ้าน 5 วิถีชีวิตเยาวชนที่ร่วมกิจกรรมจะได้สัมผัสกับ รูปแบบเกษตรกรรม โดยมีปราชญ์ชาวบ้าน และวิทยากรจากศูนย์พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ความรู้และร่วมกิจกรรม จัดโดยสำนักงาน กปร. ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ไก่ดำภูพาน
และกว่า 40 ชั่วโมงที่เยาวชนได้มีโอกาสอยู่กินและใช้ชีวิตกับเกษตรกรขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งเยาวชนต่างให้ความสนใจกับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรเหล่านั้นเป็นอย่างมาก ต่างสอบถามเพื่อเรียนรู้โดยที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อนำไปใช้เองที่บ้านของตน อย่างกรณีของการเพาะเลี้ยงไก่ดำภูพานดูจะได้รับความสนใจจากเยาวชนเหล่านี้เป็นอย่างมาก ซึ่งก็มีเหตุผลหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ กำลังเป็นสินค้ายอดนิยมที่ทำราคาและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่นำมาเลี้ยง จนบางรายเริ่มพัฒนาเป็นการเพาะเลี้ยงเชิงธุรกิจ โดยการจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาคู่ละกว่า  3,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของไก่ทั้งคู่

ไก่ดำภูพาน
เกษตรกรรายหนึ่งได้กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงให้กับเยาวชนฟังถึงกรรมวิธีทำให้ไก่ดำภูพานเจริญเติบโต แข็งแรง มีกำลังและเลี้ยงตัวรอดพร้อมทั้งสามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีให้ลูกดกได้ ซึ่งกรรมวิธีนี้เป็นการนำไก่ดำที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ มาเลี้ยงแบบผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงไก่โดยใช้ไก่บ้านสายพันธุ์ไทยเข้ามาเป็นตัวช่วย

เกษตรกรรายนี้เล่าว่า หากต้องการไก่ดำเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์และเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาและไก่มีน้ำหนักดี ต้านทานโรคและป้องกันตัวเองเก่ง ก็ให้แม่ไก่สายพันธุ์พื้นเมืองเป็นผู้เลี้ยงลูกไก่ตั้งแต่เริ่มออกจากไข่  ถึงตรงนี้เยาวชนบางรายอดสงสัยไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการเช่นนี้ ก็ได้รับคำตอบว่า เมื่อถึงช่วงที่แม่ไก่ ซึ่งเป็นแม่ไก่ของทั้งไก่ดำภูพานและแม่ไก่สายพันธุ์ุพื้นเมืองหรือที่รู้จักกันในนามของไก่บ้าน ขณะที่วางไข่ ให้คอยสังเกตเมื่อแม่ไก่ออกไข่แล้วซึ่งจะบินออกจากรัง ให้เอาไข่มาสลับรังกัน ทำอย่างนี้ทุกวันในระหว่างที่แม่ไก่ทั้งสองออกไข่ จนเมื่อแม่ไก่ทั้งสองเลิกออกไข่และทำการฟักไข่ ช่วงนั้นก็ให้เอาไข่ของแม่ไก่สายพันธุ์พื้นบ้านที่อยู่ในรังของแม่ไก่ดำภูพานออกมาทั้งหมด นำไปบริโภคถ้ามากก็ขายทำเงินเข้าครอบครัว เมื่อแม่ไก่ดำไม่มีไข่ในรังก็จะออกไปรวมฝูงกับตัวผู้เกิดการผสมพันธุ์ ซึ่งไม่นานก็จะกลับเข้ามาวางไข่อีก ขณะที่แม่ไก่พันธุ์พื้นเมืองก็ทำหน้าที่ฟักไข่จนออกมาเป็นตัว ซึ่งก็คือลูกไก่ดำภูพานทั้งหมด

โดยพื้นฐานแม่ไก่พื้นบ้านจะเลี้ยงลูกไก่เหล่านั้นเป็นอย่างดี และจากความสามารถพิเศษของแม่ไก่พื้นบ้าน อาทิ การเฝ้าดูแลลูกไก่ไม่ให้ไก่ตัวอื่น หรือสัตว์อื่นทำร้ายจะเก่ง เพราะแม่ไก่พันธุ์พื้นบ้านช่วงนี้จะดุ แถมคุ้ยเขี่ยหาอาหารให้ลูกเก่งและออกไปไกลจากบริเวณที่เลี้ยง เหล่านี้ก็จะทำให้ลูกไก่ดำมีความแข็งแรง เพราะมีกินมาก วิ่งตามแม่ไก่ไปไกล ๆ ได้ออกกำลังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ที่สำคัญในการเฝ้าระวังภัยจากสัตว์ที่ชอบกินลูกไก่หรือทำร้ายลูกไก่ จะไม่ค่อยมีโอกาสเกิดขึ้นเพราะแม่ไก่พันธุ์พื้นบ้านมีความสามารถสูงในการเตือนภัยและหาที่หลบซ่อน  เหล่านี้จึงทำให้ไก่ดำที่ออกมามีคุณภาพและอัตราการรอดสูง แถมกล้ามเนื้อแข็งแรงตรงตามความต้องการของตลาด  เยาวชนที่รับทราบข้อมูลเหล่านี้หลายรายบอกว่ากลับไปบ้านจะเอาไก่ดำภูพานมาเลี้ยงแบบผสมผสานกับไก่พื้นพื้นบ้านดังที่เกษตรกรรายนี้ถ่ายถอดประสบการณ์ให้ฟัง

ไก่ดำภูพาน เป็นสายพันธุ์หนึ่งของไก่ดำ ปรับปรุงพันธุ์จากไก่ดำจากประเทศจีน และจดสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และขึ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์กับกรมปศุสัตว์ โดย นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร ไก่ดำภูพาน เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการในตลาดประเทศจีนที่มีความเชื่อในสรรพคุณทางยาของไก่ดำ ซึ่งมีองค์ประกอบ ขนดำ หนังดำ เล็บดำ เนื้อเทาดำ และกระดูกก็สีเทาดำ.


ที่่มา..ข้อมูล/ภาพ เดลินิวส์


กระต่าย เลี้ยงกระต่ายขาย

กระต่าย เลี้ยงกระต่ายขายเป็นอาชีพเสริมสำหรับเกษตรกร เพราะขายลูกได้ ขาย เนื้อได้
กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จในการศึกษาวิธีการเลี้ยงกระต่ายเพื่อให้ผลตอบ แทนดีและสามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่ที่ไม่มากนักเช่นหลังบ้าน

กระต่าย
กระต่ายเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่กินหญ้า ผักผลไม้ได้หลายชนิด ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงไม่มาก ให้ผลผลิตเร็ว อาจจะเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น หรือขุนขายก็ได้ ประโยชน์ในการเลี้ยงกระต่ายมีหลายอย่างด้วยกัน อาทิให้ความเพลิดเพลินเป็นประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นอาชีพเสริมสำหรับเกษตรกร เพราะขายลูกได้ ขาย เนื้อได้เป็นสัตว์ทดลองและผลิตวัคซีนบางชนิด ผลพลอยได้ก็มี หนังและมูลพันธุ์กระต่ายที่นิยมเลี้ยงในประเทศ ไทยเป็นพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ลักษณะประจำพันธุ์ ขนสีขาวทั้งตัว ตาสีแดง หน้าสั้น ตะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง เนื้อแน่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง โตเต็มที่หนัก 4–5 กิโลกรัม เป็นกระต่ายพันธุ์เนื้อ พันธุ์แคลิฟอร์เนียไวท์ลักษณะประจำ พันธุ์ ขนสีขาว ฟูยาว ปลายหูและปลายเท้าจะมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ตาสีแดง โตเร็ว เลี้ยงลูกเก่ง โตเต็มที่ หนัก 2.5–4 กิโลกรัม ใช้ทำพ่อแม่พันธุ์ หรือเป็นกระต่ายเลี้ยง พันธุ์แองโกล่า ลักษณะประจำพันธุ์ ขนยาวตรง มีสีหลายสี เช่น ขาว น้ำตาล เทา ดำ หน้าสั้น ตาสีดำ หรือน้ำตาล ให้ลูกน้อย ครอกละ 2–4 ตัว โตเต็มที่หนัก 1.8–2.5 กิโลกรัม เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์พื้นเมืองลักษณะประจำพันธุ์ ขนสีน้ำตาล ดำ ขนสั้น ตาสีดำ ทนต่อโรคและสิ่งแวดล้อม ให้ลูกดก โตเต็มที่หนัก 2.5–3.5 กิโลกรัม เหมาะสำหรับทำพ่อแม่พันธุ์

กระต่าย
ในการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเลี้ยง ทั้งเพื่อเป็นอาชีพเสริมและเชิงพาณิชย์ พบว่าการเลี้ยงนอกจากพิจารณาเรื่องของพันธุ์กระต่ายที่ต้องการแล้ว ก็มีเรื่องของโรงเรือน ซึ่งควรอยู่บนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถป้องกันศัตรู เช่น สุนัข แมว ได้ กรงกระต่ายควรทำด้วยลวดตาข่ายและอยู่สูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า 50 ซม.เพื่อป้องกันกลิ่นปัสสาวะของกระต่ายเอง

อาหารกระต่ายที่เป็นอาหารหยาบ ควรเป็นจำพวกที่มีเยื่อใยสูง แต่มีโปรตีนต่ำ เช่น หญ้าสด ผัก ผลไม้ ให้กระต่ายกินเป็นหลักจำนวน 10–15% ของน้ำหนักตัว วันละ 2 มื้อ หญ้ารูซี่ หญ้าขน ลิสงเถา (ถั่วปิ่นโต) ไมยราบยักษ์ แต่ไม่ควรใช้ใบกระถินเลี้ยงกระต่าย เนื่องจากมีสารมิมโมซีน ที่มีผลต่อขนกระต่ายทำให้ ขนร่วงได้ง่าย หญ้าและผักที่ฉ่ำน้ำ เช่น เปียกฝน หรืออวบน้ำ จะทำให้กระต่ายท้องเสีย จึงควรนำหญ้าหรือผักสดไปผึ่งในที่ร่มประมาณ 3–6 ชั่วโมงก่อน หรือเกี่ยวหญ้าหลังเวลา 10.00 น. ไปแล้ว อาหารข้น จำพวก อาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบต่าง ๆ จนมีปริมาณ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินเกลือแร่ ฯลฯ ควรให้ตามความจำเป็นของอายุของกระต่าย ส่วนอาหารสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับโค สามารถให้กระต่ายกินได้แต่ไม่เกิน 120-180 กรัม/ตัว/วัน (ขีด-ขีดครึ่ง) เพื่อเสริมอาหารหยาบ

และจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าผลตอบแทนคุ้มค่าไม่น้อย โดยต้นทุน ค่าพ่อแม่พันธุ์กระต่าย ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 8 ตัว รวม 10 ตัว ตัวละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่ากรงกระต่าย ขนาด 4.80x0.60 เมตร สูง 1.80 เมตร จำนวน 2 หลัง รวมเป็นเงิน 5,000 บาท ค่าอาหารข้น 4,680 บาท ค่ายาเวชภัณฑ์ 300 บาท รวมเป็นเงิน 11,480 บาท หลังจากเลี้ยงเกษตรกรจะมีรายได้ จากที่แม่กระต่ายให้ลูก แม่ละ 5 ตัว ปีละ 4 ครอก ได้ลูกทั้งหมด 200 ตัวจำหน่ายลูกกระต่ายอายุ 1 เดือน ตัวละ 80 บาทเป็นเงิน 16,000 บาทหรือจำหน่ายกระต่ายขุน อายุ 6 เดือน 100 ตัว ตัวละ 2 กก. กก.ละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท มูลกระต่าย จำนวน 10 กระสอบ กระสอบละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 200 บาท สรุปแล้วจากการเลี้ยงกระต่ายที่เริ่มต้น 8 ตัวใน 1 ปี จะคืนทุนและมีกำไรไม่น้อยกว่า 2,720-4,720 บาท และหากต้องการกำไรที่มากกว่านี้ ก็เพิ่มปริมาณการเลี้ยงกระต่ายให้มากขึ้น ส่วนตลาดในตอนนี้เริ่มมีความนิยมมากขึ้น

เกษตรกรที่สนใจหากอยู่พื้นที่ภาคเหนือก็เดินทางเข้าไปศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ แต่หากอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล กทม. ในระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2555 นี้ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จะนำเรื่อง ดี ๆ เหล่านี้มาแสดงภายในงาน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. งานนี้รับข้อมูลและคำแนะนำพร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ฟรี.


ที่มา..ข้อมูล/ภาพ เดลินิวส์


การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟาง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
การเพาะเห็ดในตะกร้าสามารถทำได้ด้วยตนเองสำหรับผู้ที่สนใจ จะทำเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนหรือเพื่อเชิงพาณิชย์ก็ทำได้ไม่ยาก ตลาดในปัจจุบันก็ยังสดใสอยู่ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ได้มีการศึกษาวิจัยวิธีการประกอบอาชีพเพื่อขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของเกษตรกรโดยทั่วไป ในแต่ละปีมีหลากหลายกิจกรรมด้วยกันหนึ่งในนั้นและกำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เห็ดฟาง
การแนะนำเกษตรกรจะเริ่มกันที่วัสดุอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ตะกร้าเห็ด หรือตะกร้าที่มีรูด้านใหญ่ เชื้อเห็ดฟางอายุ 15 วัน อาหารเสริม ใช้มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย อัตรา 1:1 4 พลาสติกใส วิธีการเพาะ แช่ฟางหรือวัสดุที่ใช้เพาะให้อิ่มตัว หมักกองทิ้งไว้ 1 คืนหรือ 10-12 ชั่วโมง นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าหนา 10 ซม. แล้วกดให้แน่น โรยอาหารเสริมให้ชิดขอบด้านในของตะกร้าแล้วโรยเชื้อทับบาง ๆ นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าเหมือนชั้นที่ 1 โรยอาหารเสริมและโรยเชื้อทับ ทำการเพาะ 3–4ชั้นต่อตะกร้า เมื่อเพาะเสร็จแล้วให้รดน้ำให้ทั่วตะกร้าคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ประมาณ 12-15 วัน ก็จะเก็บดอกได้

เห็ดฟาง
เห็ดฟางเรียกอีกอย่างว่า เห็ดบัว เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นในเขตร้อนจะเติบโตได้ในที่มีกองปุ๋ยทิ้งไว้นาน หรือกองฟางเก่าที่มีอินทรียวัตถุมากกองเศษไม้เศษหญ้า สปอร์จะงอกเป็นใยอ่อนในอุณหภูมิ 40 องศา

ลักษณะของเห็ดฟางครีบหรือซี่หมวกจะอยู่ด้านหลังของหมวกเห็ดจะเรียงกันเป็นรัศมี ครีบหมวกจะเป็นตัวเกิดของสปอร์ ก้านดอกจะมีขนาดยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร ส่วนบนจะติดกับดอกเห็ด ส่วนก้านดอกจะมีฟางปกคลุมไว้คล้ายถ้วยรอง เปลือกหุ้มเมื่อดอกมันตูมมันจะมีเปลือกหุ้ม แต่โตขึ้นเปลือกหุ้มจะปริออก เพื่อให้หมวกก้านดอกสูงขึ้นและทิ้งเปลือกหุ้มแต่ส่วนใหญ่เป็นสีขาว สปอร์อยู่บริเวณด้านล่างของดอกเห็ดเมื่อแก่ได้ที่จะปลิวออกไปในอากาศไปตกในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น

เส้นใยเห็ดมี 3 ขั้นตอนคือ 1 เส้นใยขั้นต้นเป็นเส้นที่พนังกั้นเป็นช่อง จะกลายเป็นใย ขั้นที่ 2 และเส้นใยขั้นที่ 3 เมื่อขั้นที่ 2 เจริญเต็มที่จะกลายเป็นฮอร์โมนกระตุ้นเส้นใยต่อไป และกลายไปเป็นเห็ดได้ดูแลให้ดีก็จะเก็บดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิตโดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง

การตรวจดูความร้อนในตะกร้าเพาะเห็ด โดยปกติจะรักษาอุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนในกองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้าวัสดุในตะกร้าแห้งไปจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย

ศัตรูของเห็ดฟางจะประกอบด้วย แมลง จำพวก มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบ ๆ พื้นที่ตั้งตะกร้า ห่างประมาณ 1 ศอกอย่าโรยในตะกร้าทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำตะกร้ามาวาง เพราะจะมีผลต่อการออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในพื้นที่เพาะเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่ไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่น ๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆ

วิธีแก้คือการเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลพื้นที่วางตะกร้า และเมื่อเก็บดอก

ที่มา..ข้อมูล/ภาพ เดลินิวส์


เลี้ยงแพะขาย

มาเลี้ยงแพะขายสร้างรายได้กัน เลี้ยงแพะ 5 ตัว 3 ปี คืนทุน แถมกำไรร่วมแสนบาท
กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จในการศึกษาการเลี้ยงแพะเพื่อให้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของประเทศไทย

ทั้งนี้ในสภาพที่เป็นอยู่การเลี้ยงแพะในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเลี้ยงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ขาดการใช้หลักวิชาการ ด้วยมักจะเข้าใจว่าแพะสามารถหากินเองได้เก่ง แต่ความจริงแล้วแพะเป็นสัตว์ที่ช่างเลือกกินส่วนใบและยอดอ่อน แต่จะไม่กินส่วนก้านหรือลำต้น หากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากแพะจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกตัวเดียวแทนที่จะเกิดลูกแฝด อัตราการตายของลูกระยะก่อนหย่านมสูง เป็นต้น




ส่วนข้อดีในการเลี้ยงแพะ ให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค เพราะหากินเก่ง กินพืชใบไม้ได้หลายชนิด ทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ ขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย ให้ผลผลิตหลากหลายนับตั้งแต่ เนื้อ นม หนัง และขน


สำหรับพันธุ์แพะที่กรมปศุสัตว์ วิจัยปรับปรุงพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมเพื่อให้โตเร็ว เพิ่มผลผลิตและคุณภาพเนื้อนม ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ประกอบด้วย แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนมมีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวหรือมีสีด่างปน สันจมูกมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลม แพะพันธุ์ซาเนน มีสีขาวทั้งตัว ใบหูเล็กหูตั้ง หน้าตรง แพะพันธุ์หลาวซาน เป็นแพะที่มาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีลักษณะคล้ายแพะพันธุ์ซาเนนแพะ เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่ว หากินเก่ง สามารถกินใบไม้ตามพุ่มไม้ที่มีหนามได้เป็นอย่างดี ทนต่อรสขมได้ดี มักจะชอบออกหากินอาหารเองมากกว่า ชอบกินใบไม้มากกว่ากินหญ้า เลือกกินอาหารที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดินและไม่ชอบกินอาหารอย่างเดียวเป็นเวลานานติดต่อกันจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม. แพะเลือกกินไม้พุ่ม 72% หญ้า 28%การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของหญ้า การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ใบไม่แก่เกินไป ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้สัตว์ที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก

สำหรับโรงเรือนที่ใช้เพื่อการเลี้ยงแพะนั้นคณะศึกษาการเลี้ยงแพะของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ แนะนำว่า ควรทำคอกให้อยู่ มีหลังคากันแดดและฝน ยกพื้นสูง เพื่อทำความสะอาดง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหาร ความยาวรางอาหารมีพอให้แพะกินได้ครบทุกตัว และมีที่แบ่งกั้นเพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งอาหาร และถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแพะโต แพะเล็ก แม่อุ้มท้อง แม่เลี้ยงลูกหรือคอกลูกแพะ พื้นคอกทำเป็นไม้ระแนงในแพะโตมีความห่าง 1.5 ซม. แพะเล็ก 1.3 ซม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะลงดิน พื้นคอกจะได้แห้งและสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันพยาธิที่อาจติดออกมากับมูลได้ และเก็บมูลใต้คอกใช้ทำเป็นปุ๋ยต่อไป

ส่วนผลตอบแทน ในการลงทุนเลี้ยงแพะในการศึกษาพบว่า เมื่อนำแม่แพะนมอายุ 8 เดือนมาเลี้ยงจำนวน 5 ตัว ตัวละ 5,000 บาทรวม 25,000 บาท ค่าโรงเรือน ขนาด 4x8 เมตร 10,000 บาท ค่าอาหารข้น ตัวละ 0.5 กก./ตัว/วัน กก.ละ 12 บาท 3 ปี 32,850 บาท ค่าเวชภัณฑ์ ตัวละ 100 บาท 5 ตัว 500 บาทรวม 68,350 บาท จะให้ผลผลิต ปีที่ 1 แม่แพะให้ลูกแม่ละ 1 ตัว ได้ลูกแพะ 5 ตัว น้ำนมแม่ละ 30 ลิตร เป็น 150 ลิตร ปีที่ 2 แม่แพะให้ลูกแม่ละ 3 ตัว ได้ลูกแพะ 15 ตัว น้ำนมแม่ละ 60 ลิตร เป็น 300 ลิตร ปีที่ 3 แม่แพะให้ลูกแม่ละ 3 ตัว ได้ลูกแพะ 15 ตัว น้ำนมแม่ละ 60 ลิตร เป็น 300 ลิตรรวม 3 ปี ได้ลูก 35 ตัว ตัวละ 2,000 บาท เป็นเงิน 70,000 บาทได้นม 750 ลิตร ลิตรละ 40 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท รวม 100,000 บาท ดังนั้น ในปีที่ 3 สามารถได้ทุนคืนและมีกำไรอย่างเต็มที่ในการเลี้ยงแพะที่เริ่มต้นมาจาก 5 ตัว

เกษตรกรที่สนใจหากอยู่พื้นที่ภาคเหนือเข้าศึกษาเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ แต่หากอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล กทม.ในระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2555 นี้ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จะนำเรื่องดีๆ เหล่านี้มาแสดงภายในงาน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. งานนี้รับข้อมูลคำแนะนำและชมกิจกรรมต่าง ๆ ฟรี.


ที่มา.. ข้อมูล ภาพ.dailynews

เลี้ยงจิ้งหรีดขาย

 มาเลี้ยงจิ้งหรีดขายเป็นรายได้เสริม 

จิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนอยู่ตามสนามหญ้า ตามรอยแตกของดิน หรือใต้กองเศษหญ้า จิ้งหรีดมีลำตัวกะทัดรัด มีขาคู่หลังที่ใหญ่ แข็งแรง กระโดดเก่ง กินพืชเป็นอาหาร



จิ้งหรีด

ปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหารเพราะให้สารโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ รักษาโรคขาดสารอาหารได้ เลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง แม่พันธุ์ 1 ตัว ให้ลูกได้ถึง 1,000 ตัว เหมาะที่เกษตรกรจะนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมไว้บริโภค จำหน่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ซึ่งการเลี้ยงจิ้งหรีดใช้เวลาไม่มาก หรือใช้เวลาว่างจากการเพาะปลูกมาดูแลจิ้งหรีด ภายในเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 3 รุ่นวงจรชีวิตของจิ้งหรีด ระยะไข่ จิ้งหรีดแม่พันธุ์ 1 ตัว วางไข่ได้ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 200-300 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวเมื่อมีอายุครบ 10-15 วัน ช่วงฟักไข่ ควรปิดฝาและควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 40 องศาเซลเซียส ตัวอ่อนจะลอกคราบเมื่ออายุได้ 3 วัน ช่วงแรก ยังไม่มีปีก จิ้งหรีดจะลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง แล้วเข้าสู่ตัวเต็มวัย ระยะเวลา 45-60 วัน ระยะตัวเต็มวัยจะมีปีก 2 คู่ เพศผู้ปีกคู่หน้าย่น เพศเมียปีกเรียบ ช่วงนี้เพศผู้เริ่มร้องเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์ โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้และจะผสมพันธุ์ตลอดฤดูการวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่ 5-7 วัน หลังจากลอกคราบครั้งสุดท้าย จากนั้นจึงนำถาดไข่ซึ่งมีขี้เถ้า แกลบเผา หรือทรายละเอียดไปวางในบ่อเลี้ยงประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ตัวเมียไข่ แล้วนำไปไว้ในบ่อฟัก ใส่ถาดไข่อันใหม่ทุก 5-7 วัน อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด โดยเลี้ยง 1 ชุด อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ ประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 3 ตัว บ่อปูนขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. จำนวน 1 บ่อ ใส่จิ้งหรีดพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 200–300 ตัว ตาข่ายไนลอนเขียว 100X100 ซม. จำนวน 1 ผืน แผ่นพลาสติกใส 100X100 ซม. จำนวน 1 แผ่น ยางรัดปากบ่อ จำนวน 1 เส้น ถาดอาหารและน้ำอย่างละ 1 ถาด แผงใส่ไข่ที่ทำจากกระดาษ 3-4 แผ่น และเทปกาว ควรมีโรงเรือน หรือหลังคาป้องกันแดดและฝน ปรับพื้นที่โดยกำจัดมด ซึ่งเป็นศัตรูจิ้งหรีด ติดเทปกาวห่างจากปากบ่อ 3 ซม. การเริ่มเลี้ยงครั้งแรกหาพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรง อวัยวะครบสีเข้ม หลังปล่อยในบ่อแล้วต้องตรวจนับทุก 3 วัน หากพ่อแม่พันธุ์ตายให้หาพันธุ์ใหม่มาทดแทน การเลี้ยงจิ้งหรีด 1 บ่อจะได้ลูกจิ้งหรีด 2,000–2,500 ตัว

อาหารได้แก่ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืช หรือหญ้าสด 2 วันให้ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ ให้อาหารเสริมด้วยรำอ่อน หรืออาหารสำเร็จรูปของไก่เนื้อไก่ไข่ ให้น้ำด้วยกระปุกน้ำหรือถาดแล้วใส่หิน กรวดหรือฟองน้ำกันจิ้งหรีดอ่อนตกและควรเปลี่ยนน้ำทุก 2 วัน

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่คนนิยมบริโภคเป็นอาหาร เช่น ทอด คั่ว ก่อนนำมาปรุงอาหาร ควรงดอาหารให้เฉพาะน้ำกับจิ้งหรีด เมื่ออดอาหารจิ้งหรีดจะถ่ายมูลออกหมด ปัจจุบันความต้องการบริโภคของตลาดยังมีอยู่มาก และเมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงกับแมลงชนิดอื่นแล้วความคุ้มค่าของการลงทุนจะดีกว่า ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มีเลี้ยงเพื่อการสาธิตให้กับเกษตรกรที่สนใจเข้าไปศึกษาเพื่อนำไปเลี้ยงเองที่บ้าน สนใจเข้าไปสอบถามได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น.


ทีมา..ข้อมูล ภาพ  dailynews



กุญแจ"อาชีพทำกุญแจ"เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้วันนี้ Somtamthai ขอแนะนำอาชีพช่างกุญแจเป็นอาชีพอิสระ ไม่เป็นลูกน้องใคร ย้ำย้ำย้ำ ไม่เป็นลูกน้องใคร  **ก่อนอืนคุณต้อง เรียนรู้ ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญก่อน การเป็นช่างกุญแจทีดีจะต้องมี จรรยาบรรณ รักในอาชีพของตนเอง (เป็นคำสัมภาษของช่างมุ้ยร้อยเอ็ด 087-1122600)

งบลงทุนใหม่ประมาณเท่าไหร่
 ชื้อเครื่องตัดกุญแจ ประมาณ 25,000- 35,000 บาท มือสอง 9,000-15,000 บาท หุ่นดอกกุณแจ(ดอกที่ยังไม่ตัดเขี่ยว)ประมาณ 6,000 บาทขึ้นไป
เรียนทำกุญแจจากช่างกุญแจผู้มีประสบการณ์จริงไม่ต้องเสียเวลาเรียนหลายวันหลายเดือนหลายปีลงทุนครั้งเดียวรายได้ต่อเดือน 25,000-40,000 บาทต่อเดือน

กระเจี๊ยบแดง

      กระเจี๊ยบแดง คุณประโยชน์ของ กระเจี๊ยบแดง 

กระเจี๊ยบแดงมีคุณประโยชน์มากมายช่วยลดไขมันในเส้นเลือด กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

 นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
     
 นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้
 โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป

คุณค่าด้านอาหาร


น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

กระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้มนำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ