ย่านาง สมุนไพร หมื่นปีไม่มีแก่ "อิสาน หมื่นปี บ่ เฒ่า"
สรรพคุณใบย่านางนั้นมีมากจนบางคนเรียกว่าเป็น "ยาอายุวัฒนะ"
ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี
ใบย่านาง เป็นพืชที่เต็มไปด้วยสาร สารสีเขียว คลอโรฟิลด์ และ เบต้าแคโรทีน ป้องกันการก่อตัวของอนุมูลอิสระ เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ดูแลคนทำงานสำนักงาน และ ลดพิษร้อนให้อวัยวะภายร่างกาย ที่ทำให้ป่วย หรือเครียดตลอดเวลา เมื่อไรที่ควรทานย่านาง ? อาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน เช่น ตาแดง ตาแห้ง แสบตา มีสิว ฝ้า มีตุ่มแผลร้อนในช่องปาก ผมหงอกก่อนวัย ไข้ขึ้น ตัวร้อน มีเส้นเลือดขอด เป็นตะคริว เกิดฝีหนอง หอบหืด ไตอักเสบ โรคเก๊า เบาหวาน ความดันสูง ฯลฯใบย่านางมีฤทธิ์เย็น จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ย่านางเป็นใช้ยามาตั้งแต่โบราณ มีชื่อเรียกทางแพทย์ยาโบราณว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” หรือ ย่านางเป็นพืชสมุนไพรที่มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ หมอ แผนไทยจะใช้รากย่านางเข้าตำรับยาแก้ไข้ในตำรับยา 5 ราก (ประกอบด้วย รากย่านาง รากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร) หรือเบญจโลกวิเชียร หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นหนึ่งในตำรับยาแก้ไข้
ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ ดั้งเดิม ชาว ไทยภาคอีสานและภาคเหนือนำใบย่านางมาใช้ประกอบอาหาร โดยเอาน้ำคั้นจากใบทำน้ำแกง คือแกงหน่อไม้หรือต้มเปรอะ แกงขี้เหล็ก แกงหวาย ลาบหมาน้อย ลาบเทา ต้มหน่อไม้ การประกอบอาหารดังกล่าวนี้ใช้น้ำคั้นใบย่านางจะช่วยฆ่าพิษหรือดับพิษของ อาหารที่ประกอบนั้น เช่น หน่อไม้ จัดเป็นอาหารแสลงที่ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเข่า ถ้าเป็นหญิงมักมีตกขาว หรือคันในช่องคลอดร่วมด้วย หมอ แผนไทยโดยส่วนใหญ่จึงมักห้ามกินหน่อไม้ในระหว่างที่ทำการรักษา แต่คนอีสานและเหนือจะแกงหน่อไม้ใส่ย่านางเพื่อฆ่าพิษของหน่อไม้ แต่ถ้าใครจะกินหน่อไม้ปีบก็ควรต้มกับน้ำย่านางก่อนจะปลอดภัยมากขึ้น แกงขี้เหล็กก็เช่นเดียวกัน ในขี้เหล็กมีสารพิษจึงมักต้มขี้เหล็กแล้วแกงกับน้ำย่านาง