น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์ผึ้ง ประโยชน์ของน้ำผึ้ง
เกสรผึ้ง |
คือ ละอองเกสร (pollen) ของพืชหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชที่ผึ้งเก็บจากดอกไม้ ด้วยการใช้ขาคู่หน้าตะกุยละอองเกสรให้ติดที่ขนบริเวณส่วนอกและท้อง แล้วใช้ขาคู่กลางรวบรวมเกสรเป็นก้อนใส่ไว้ที่ตะกร้าเก็บเกสรที่อยู่บนขาคู่หลังของผึ้ง เพื่อที่จะนำกลับเข้ารังไปเลี้ยงตัวอ่อนผึ้ง และเก็บสะสมไว้ในหลอดรวงเพื่อเป็นแหล่งอาหารสำรองของผึ้งใช้ในผึ้งที่ขาดแคลนเกสรก่อนที่ผึ้งจะเก็บเกสรไว้ในหลอดรวงจะผ่านขบวนการย่อยและการตระเตรียมเพื่อการเก็บในระยะยาว โดยผึ้งจะเติมกรดเอนไซส์และน้ำผึ้งเคลือบเกสร หลังจากนั้นผึ้งจะอัดเกสรไว้ในหลอดรวง เกสรผึ้งที่ผู้เลี้ยงผึ้งเก็บจากรังผึ้ง จะเป็นเกสรที่ดักเก็บจากขาผึ้งด้วยกับดักเกสร เกสรที่ดักได้จะถูกนำเข้าตู้อบเพื่อให้เกสรแห้ง
ประโยชน์ของเกสรผึ้ง
ทางอาหาร เกสรผึ้งเป็นอาหารที่ย่อยสลายง่าย และยังมีคุณค่าต่อการฟื้นฟูความสมดุลของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงและกะปรี้กะเปร่า ทางสมุนไพร เกสรผึ้งสามารถบำบัดบรรเทาโรคเหล่านี้ได้ เช่น ภูมิแพ้อากาศและฝุ่นละออง โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัส ไข้หวัดใหญ่ หืดหอบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมไปถึงชะลอการตกกระของผิวหนัง บรรเทาอาการกระวนกระวายในสตรีวัยหมดประจำเดือน และอาการนอนไม่หลับ เป็นต้น ทางบำรุงและเสริมสร้าง เกสรผึ้งยังเป็นสารช่วยบำรุงให้ดีขึ้น คือ ทำให้มีความทรงจำและสมาธิดีขึ้น
2. พรอพอลิส
คือ สารเหนียวหรือยางเหนียวๆ ที่ผึ้งงานเก็บมาจากตาหรือเปลือกของต้นไม้เพื่อใช้ปิดรอยโหว่ของรัง และห่อหุ้มศัต รูที่ถูกฆ่าตายในรังแต่ไม่สามารถนำออกไปทิ้งนอกรังได้ และเพื่อไม่ได้เกิดการเน่าเหม็นในรังผึ้ง ชาวกรีกตั้งชื่ อสารนี้ว่า "propolis" ซึ้งมาจากคำว่า "pro" หมายถึง "ก่อน" และ "polis" หมายถึง "เมือง" ซึ่งในสมัยนั้นกรีกเองก็สันนิษฐานว่า ผึ้งคงจะใช้พรอพอลิสสำหรับป้องกัน " เมือง" หรือรังของตนเองให้พ้นจากเชื้อโรคและศัตรูต่าง ๆ ไม่ให้บุกรุกเข้ามา พรอพอลิสมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ ยางไม้ร้อยละ 45 ไขมันร้อยละ 30 น้ำมันร้อยละ 10 และเกสรดอกไม้ร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังประกอบด้วยวิตามินบี
ประโยชน์ของพรอพอลิส
ช่วยในการรักษาบาดแผล โรคผิวหนังและโรคเน่าเปื่อยบางอย่างของวัวควาย มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรียและไวรัส และเนื่องจากคุณสมบัติของพรอพอลิสที่เป็นการฆ่าเชื้อโรคนี้เองจึงมีการนำพรอพอลิสมาเป็นส่วนผสมในการผลิตน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน และหมากฝรั่ง เป็นต้น พรอพอลิสพบในรังผึ้งโพรงฝรั่งเท่านั้น ผึ้งโพรงไทยไม่มีพรอพอลิส
3. นมผึ้ง หรือรอยัลเยลลี (rayal jelly)
ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า นมผึ้ง เป็นอาหารของผึ้งตัวอ่อนและผึ้งนางพญา ผลิตโดยผึ้งงานที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน คือ ผึ้งงานวัยที่มีหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อนจะผลิตอาหารพิเศษนี้จากต่อมไฮโพฟาริงจ์ (hypopharyngeal gland) ที่อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตรอยัลเยลลีและผึ้งงานจะคายรอยัลเยล ลีออกจากปากใส่ลงในหลอดรวงตัวอ่อน (brood cells) นอกจากนั้นผึ้งงานจะใช้รอยยัลเยลลีป้อนให้กับผึ้งนางพญาด้วย
รอยัลเยลลีมีลักษณะสีขาวคล้ายครีมหรือนมข้นหวาน มีกลิ่นออกเปรี้ยวและรสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย ผึ้งงานจะนำรอยัลเยลลีที่ผลิตขึ้นมาได้นี้ไปเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งทุกวรรณะตั้งแต่แรกเกิดจนมีอายุครบ 3 วัน เฉพาะตัวอ่อนที่จะเจริญไปเป็นผึ้งนางพญาเท่านั้นที่จะได้รับรอยัลเยลลีจำนวนมากและได้รับต่อไปจนตลอดชีวิต จึงเรียกอาหารนี้ว่าเป็นอาหารราชินีหรืออาหารนางพญา (royal jelly) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผึ้งนางพญามีขนาดโต
กว่าผึ้งวรรณะอื่น ๆ และมีข้อแตกต่างหลายประการที่ต่างไปจากผึ้งงานทั่วๆ ไปภายในรัง
ปัจจุบันได้มีการนำเอารอยัลเยลลีมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทางอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปในรูป ครีมทาหน้า แชมพู และรับประทานเป็นอาหารเสริมกันมากขึ้น แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าน้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง (honey) |
4. น้ำผึ้ง (honey)
น้ำผึ้ง คือน้ำหวานที่ผึ้งเก็บจากต่อมน้ำหวานของดอกไม้ หรือต้นไม้ ที่ผ่านขบวนการย่อยภายในตัวผึ้งแปรสภาพน้ำหวานให้กลายเป็นน้ำผึ้ง ขณะกำลังบินกลับรังแล้วคายออกมาเก็บไว้ในหลอดรวง ผ่านการระหายน้ำโดยผึ้งช่วยกันกระพือปีกไล่ความชื้น จนน้ำผึ้งในหลอดรวงนั้นมีความชื้นน้อยกว่า 20% จึงปิดฝาหลอดรวง จัดเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
องค์ประกอบในน้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งอาหารและยา เพราะน้ำผึ้งจะถูกนำมาผสมลงในตัวยาสมุนไพร เพื่อให้เกิดรสหวาน ง่ายต่อการรับประทาน รวมทั้งชักนำให้ยานั้นมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ดีขึ้น
องค์ประกอบในน้ำผึ้งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำตาลประมาณ 79% เป็นน้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องผ่านการย่อยในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นก็จะประกอบไปด้วย น้ำประมาณ 20% กรดชนิดต่าง ๆ 0.5 % และอีก 0.5% จะเป็นโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ พอสรุปได้ ดังนี้
1. น้ำ หรือความชั้น น้ำผึ้งที่ดีควรมีความชื้น 18-20% เพราะจะทำให้เก็บไว้ได้นานไม่บูดเสียง่าย
2.น้ำตาล มีไม่ต่ำกว่า 17 ชนิด เช่น fructose glucose maltose levulose เป็นต้น น้ำผึ้งจึงถูดจัดเป็น
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง
3. กรด ในน้ำผึ้งมีหลายชนิด ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ กรด gluconic นอกจากนี้ยังมีกรดอมิโน ถึง 16 ชนิด
กรดเกลือ และกรดกำมะถันรวมอยู่
4. แร่ธาตุ ได้แก่ K CI S Ca P Mg Si Fe Mn Cu ถึงจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่ก็ยังอยู่ในสัดส่วนที่
เหมาะสมประมาณ 0.02-1%
5. เอนไซม์ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาที่มีประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
- glucose oxidase เปลี่ยน glucose ไปเป็น Gluconic acid และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค
- nvertase ช่วยย่อยน้ำตาล sucrose ไปเป็น decrose และ Levulose แต่เอนไซม์ชนิดนี้จะสลายตัว เมื่อได้รับความร้อนที่มากกว่า 58-59 องศาเซลเซียล นาน 10 ชั่วโมง
- diastase ช่วยย่อยแป้งไปเป็นน้ำตาล แต่เนื่องจากไม่มีแป้งอยู่ในน้ำหวานของดอกไม้ ทำให้ไม่ต้องใช้
enzyme ตัวนี้ เป็นเพียงตัวบ่งชี้ให้รู้ว่าในน้ำผึ้งมี diastase มากน้อยเพียงใด
- vitamin ที่พบมีหลายชนิด เช่น thiamin (B1) Riboflavin(B2) Ascorbic acid (C) Pyridoxine (B6) Vitamin B complex แตกต่างกันตามชนิดของเกสรดอกไม้ในน้ำผึ้ง
- โปรตีนและกรดอมิโน
ประโยชน์ของน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบของการบริโภคสด หรือการนำมาเป็นส่วนประกอบของสินค้าในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่นยาแผนโบราณ เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม รวมทั้งการนำมาใช้สมานแผลในวงการแพทย์ปัจจุบัน นอกเหนือจากการยอมรับว่าเป็นสารที่ให้ประโยชน์ในวงการแพทย์ คือ ความสามารถในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดีเพราะคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ ของน้ำผึ้ง ได้แก่
1. มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีความสามารถในการดูดซับน้ำหรือ ดึงน้ำออกจากเซลของแบคทีเรียได้สูงมาก (hyperosmosis)
2. มีความเป็นกรด หรือ PH เฉลี่ย 3.9 ซึ่งเพียงพอต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้
3. มีสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากปฏิกิริยาของเอนไซม์ glucose oxidase
น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งป่า กับ น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งเลี้ยง
ตลาดน้ำผึ้งในประเทศไทย จะมีน้ำผึ้ง 2 ประเภท คือ น้ำผึ้งที่ได้จากธรรมชาติ หรือน้ำผึ้งป่า กับน้ำผึ้งที่ได้จากการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจ ถึงคุณค่าทางอาหารของน้ำผึ้งแต่ละชนิด แต่มีรายงานของ ดร.ไมเคิลเบอรเกตต์ จากอเมริกา ที่เก็บตัวอย่างน้ำผึ้ง จากทั่วโลกของผึ้งทุกชนิด ซึ่งมีตัวอย่างของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย พบว่าไม่มีความแตกต่าง ทั้งในด้านองค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางอาหาร
ในประเทศไทย โดยสมนึก บุญเกิด (2544) รายงานผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งเลี้ยงและจากผึ้งในธรรมชาติว่า ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด จึงน่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า น้ำผึ้งป่าไม่ได้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าหรือแตกต่างไปจากน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งเลี้ยงแต่อย่างใด
คุณลักษณะเฉพาะของน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งที่ได้จากพืชต่างชนิดกัน จะมีความแตกต่างในเรื่องทางกายภาพ ได้แก่ สี กลิ่น และรสชาติ และจะมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น
น้ำผึ้งตกผลึก น้ำผึ้งจากพืชบางชนิด สามารถตกผลึกได้ดี เช่น น้ำผึ้งจากดอกลิ้นจี่ และดอกทานตะวันซึ่งมีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวมาเป็นของแข็ง เป็นผลึกมีรูปร่างเป็นแท่งแหลมเปราะบาง เพราะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสในน้ำผึ้งสูงกว่าน้ำตาลฟรุกโตส ผลึกดังกล่าวจะมีสีเดียวกลมกลืนไปทั้งขวด ไม่แยกชั้น ทั้งนี้ลักษณะการตกผลึกจะหายไปทันที เมื่อนำไปอุ่นที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส ภายใน 5 นาที ต่างจากน้ำผึ้งตกตะกอน ซึ่งเกิดจากการปลอมปนน้ำตาลทราย ผลึกจะมีสีน้ำตาลเข้ม แตกต่างจากส่วนที่เป็นของเหลวอย่างเห็นได้ชัด
การเปลี่ยนสี น้ำผึ้งเมื่อเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่งจะเกิดการเปลี่ยนสี หรือมีสีเข้มขึ้น เพราะ
ปฏิกิริยาการสลายน้ำตาลฟรุกโตส เกิดสาร HMF (hydroxyl methyl furfural) โดยที่น้ำผึ้งนั้นยังคงนำมาบริโภคได้ เพียงแต่สีไม่น่ารับประทานเท่านั้น น้ำผึ้งแต่ละชนิด จะเปลี่ยนสีเร็วหรือช้าต่างกัน ทั้ง ๆ ที่เก็บไว้ในสถานที่เดียวกัน เช่นน้ำผึ้งจากดอกลำไย และมะพร้าว จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มจนถึงดำได้เร็วกว่า น้ำผึ้งจากดอกลิ้นจี่ นุ่น งาน เป็นต้น
น้ำผึ้งที่มีสีเข้ม จะมีปริมาณแร่ธาตุในน้ำผึ้งมากกว่าน้ำผึ้งสีจาง เช่น Fe Ca Mg Na P Mn Cu เป็นต้น แร่ธาตุเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ลักษณะของน้ำผึ้งแท้
น้ำผึ้งแท้หรือน้ำผึ้งที่ดี ควรมีกลิ่นหอมของเกสรดอกไม้ตามชนิดที่ระบุไว้บนสลากข้างขวด แต่ถ้าไม่สามารถเปิดขวดดมกลิ่นหรือไม่มีตัวอย่างให้ลองชิม ก็ควรพิจารณาคุณสมบัติข้ออื่น ตัวอย่าง เช่น
1. มีความสะอาด ไม่มีเศษละอองเกสร เศษตัวอ่อน ดักแด้ปะปนอยู่
2. มีสีอ่อนใสตามธรรมชาติ ไม่แยกชั้น มีสีเดียวกลมกลืนไปทั้งหมด
3. มีความหนืด หรือมีความเข้มข้น
4. สลากข้างขวด ควรมีรายละเอียดแสดง น้ำหนักสุทธิเครื่องหมายการค้า วันที่ผลิต
วันหมดอายุ สถานที่ผลิต ชื่อผู้ผลิต เครื่องหมายรับรองคุณภาพจากหน่วยงานราชการ
ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
การเก็บรักษาน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งที่ดีจะมีความชั้นไม่เกิน 20% สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน แต่ยิ่งเก็บนานเท่าไหร่ เอนไซม์และกรดในน้ำผึ้งจะลดลง ในขณะที่ hydroxyl methyl furfural เพิ่มขึ้น ทำให้น้ำผึ้งมีสีเข้มขึ้น
1. น้ำผึ้งที่มีความชื้นสูงควรบริโภคให้หมดภายใน 1- 2 เดือน
2. ควรเก็บน้ำผึ้งในที่เย็น และไม่โดนแสงแดด แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น
3. น้ำผึ้งที่เก็บไว้นานจะมีสีเข้ม เพราะปฏิกิริยา การสลายของน้ำตาลฟรุกโตส ยังสามารถนำมาบริโภคได้แต่ไม่ควรเก็บนานเกิน 2 ปี
ไขผึ้ง (beeswax) |
5. ไขผึ้ง (beeswax)
ไขผึ้ง คือ สารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งเป็นไขที่ผลิตขึ้นมาจากต่อมไขผึ้ง (wax glands) 4 คู่ อยู่ที่ปล้องท้องของผึ้งงาน ปล้องที่ 4-7 ต่อมเหล่านี้ ได้สังเคราะห์น้ำตาลที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวให้ต่อกันยาวขึ้นเป็นโมเลกุลของไขผึ้ง ไขผึ้ง 1 กก. ผึ้งต้องกินน้ำตาลประมาณ 8.4 กก. ผึ้งใช้ขาเขี่ยไขจากต่อมไขผึ้งมาที่ส่วนของปาก ผึ้งจะใช้กัดก้อนไขผึ้งเป็นแผ่นบาง ๆ ก่อเป็นหลอดรวงรูป 6 เหลี่ยม สร้างหลอดรวงแต่ละหลอดต่อกันไปจนกลายเป็นรวงผึ้งในที่สุด
ประโยชน์ของไขผึ้ง อุตสาหกรรมที่ใช้ไขผึ้งมาก คือ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในสูตรผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม ลิปสติกและรูธ อุตสาหกรรมที่ใช้ไขผึ้งรองลงมา คือ อุตสาหกรรมเทียนไข อุตสาหกรรมที่ใช้เป็นอันดับสาม คือ อุตสาหกรรมผลิตแผ่นรังเทียมที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้ง และไขผึ้งถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น งานเภสัชกรรม งานทันตแพทย์ งานหล่อแบบต่าง ๆ ไขผึ้งถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของพวกวัสดุกันน้ำ
ยาขัดมันพื้น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง และเลนส์กล้องส่องทางไกล