การเพราะถั่วงอก

           เทคนิคเพาะถั่วงอก การเพราะถั่วงอก การเพราะถั่วงอกขาย มีรายได้สร้างงานมีกำไร

ถั่วงอก
 เงินลงทุน
ประมาณ 1,500 บาท

รายได้
1,400 บาท/175 กิโลกรัม

วัสดุ/อุปกรณ์
โอ่งน้ำ 5 ใบ กระสอบข้าวสาร อ่างล้างถั่วงอก สายยาง เมล็ดถั่วเขียว
แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
เมล็ดถั่วเขียว หาซื้อได้ตามร้านค้าเมล็ดพันธุ์ไม้ทั่วไป


ขั้นตอน/วิธีทำ
1. นำโอ่งน้ำ หรือโอ่งลายมังกร ขนาดกลาง 5 ใบ มาเจาะรูที่ก้นโอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร จำนวน 5 รูต่อใบ เพื่อให้น้ำไหลออก

2. นำเมล็ดถั่วเขียวน้ำหนัก 15 กิโลกรัม แช่ในน้ำสะอาด 1 วัน เมื่อแช่น้ำจนได้ที่แล้วให้ล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาด พร้อมกับช้อนเมล็ดถั่วที่ลอยน้ำทิ้ง เพราะเป็นเมล็ดเสียเพาะพันธุ์ไม่ได้

3. จากนั้นนำมาเทลงในโอ่ง ๆ ละ 3 กิโลกรัม จำนวน 5 โอ่ง ปิดทับด้วยกระสอบข้าวสาร ใช้ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง 3 วัน โดยในแต่ละวันต้องรดน้ำวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น เมื่อครบ 3 วัน แล้วจะได้ถั่วงอกมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 35-38 กิโลกรัม/1 โอ่ง รวม 5 โอ่ง จะได้ถั่วงอกประมาณ 175 กิโลกรัม ต่อเมล็ดถั่วเขียว 15 กิโลกรัม

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ขายส่งแม่ค้าตลาดสด หรือนำไปขายเองในตลาดสด

สถานที่ฝึกอบรม
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 579-2294, 942-8460 ต่อ 219-222

ข้อแนะนำ
1. เมล็ดพันธุ์ควรเป็นเมล็ดถั่วเขียวผิวมันหรือถั่วเขียวสีดำ

2. การเพาะถั่วงอกในช่วงฤดูหนาว จะต้องเพิ่มระยะเวลาในการเพาะเป็น 4 วัน เพราะในช่วงฤดูหนาวพืชเติบโตช้า

3. หากมีเงินทุนและเพาะถั่วงอกจำนวนมาก ควรซื้อเครื่องปั้มน้ำ พร้อมสายยาง ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก ประมาณ 20,000 บาท

4. วิธีรดน้ำควรที่จะมีตะแกรงพลาสติกรองรับแรงดันน้ำที่ไหลมาตามสายยางเพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันน้ำเซาะถั่วงอกแตกกระจาย ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก และทำให้ถั่วงอกมีลักษณะหงิกงอ เสียรูปทรงได้

ที่มา : ส่งเสริมการมีงานทำ , กอง กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม,"เพาะถั่วงอก," 150 อาชีพเส้นทางประกอบอาชีพอิสระ . กรุงเทพฯ , 2544 , หน้า 248.
ลิ้งค์อื่น ๆ เพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.poompanyathai.com/
บริการให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเพาะถั่วงอกเชิงพานิชย์

ความหมายและความสำคัญของถั่วงอก
ถั่วงอก คือ ผักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผักที่ยังเป็นต้นอ่อนที่เพิ่งโผล่พ้นเมล็ดโดยอาศัยธาตุอาหารต่าง ๆ ที่ถูกสะสมไว้ในเมล็ดเพื่อที่จะเติบโตเป็นต้นถั่ว แต่เมื่อนำเมล็ดถั่วมาเพาะในสภาพที่เหมาะสมโดยไม่ให้โดนแสงแดด ใบเลี้ยงกับรากของต้นถั่วจึงยังไม่โผล่เป็นต้นกล้ายังเป็นแค่หน่ออ่อนของถั่ว เราจึงเรียกว่า ถั่วงอก

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอก
ถั่วงอกเป็นผักที่ให้คุณค่าทางอาหารหลายอย่างทั้งโปรตีน เกลือแร่และวิตามิน จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของถั่วงอก (ถั่วเขียวงอก) โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของถั่วงอกมีสารอาหารเหล่านี้
1. น้ำ
2. โปรตีน
3. แคลเซียม
4. ฟอสฟอรัส
5. วิตามินบี 1 บี 2
นอกจากคุณค่าทางอาหารที่กล่าวมาแล้ว ถั่วงอกยังมีกากใยอาหารหรือไฟเบอร์เหมือนกับผักผลไม้ทั่วไป โดยมีอยู่ในระดับปานกลาง

การใช้ประโยชน์จากถั่วงอก
ถั่วงอก เป็นพืชผักที่มีบทบาทในอาหารประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน จึงพบเห็นถั่วงอกมีขายในตลาดสดเคียงคู่กับผักชนิดอื่นตลอดเวลา และถั่วงอกใช้ปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด จะเห็นได้ว่าถั่วงอกเป็นทั้งองค์ประกอบหลักในการปรุงอาหารและเป็นองค์ประกอบรองในการปรุงอาหารโดยใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารต่าง ๆ ในอาหารบางชนิดจะขาดถั่วงอกไม่ได้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากถั่วงอกในการประกอบอาหารจึงมีมากมาย โดยจะพบเห็นถั่วงอกในอาหาร ดังนี้

อาหารที่ประกอบด้วยถั่วงอก
ถั่วงอกผัดกับเต้าหู้ ถั่วงอกผัดกับเลือดหมู
ผัดผักมังสวิรัติ แกงจืดถั่วงอกกับหมูสับ
แกงส้ม ก๋วยเตี๋ยวหมูแดง
ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา
ก๋วยเตี๋ยวหลอดเกาเหลาทุกชนิด
หมี่กะทิ หมี่ซั่วผัด
ปอเปี๊ยะ ขนมหัวผักกาด